12 ก.ค. 2554

คลิปทำคลอดชิวาวา

คลิปแรกแม่หมาออกเอง เจ้าของถ่ายคลิปอย่างเดียวซะงั้น


อันนี้ เจ้าของขอมีส่วนร่วมช่วยทำคลอดด้วย


คลิปผ่าคลอด 1


คลิปผ่าคลอด 2

วิธีดามหูชิวาวา

เครดิตบทความจาก http://www.cheevava.com

1. หมาที่หูยังไม่ตั้ง (จะบอกทำม้ายยยย)

2. ขวดน้ำ ในที่นี้ใช้ขวดชาเขียว ยี่ห้อหนึ่งอักษรย่อว่า โออิชิ (ย่อแล้วนะเนี่ย)

3. เทปกาวย่น เลือกสีได้ตามรสนิยมส่วนตัวหรืออาจใช้พลาสเตอร์ยาแบบผ้าเทปพันแผล แทนก็ได้

4. กรรไกร ไว้ตัดพลาสติกและเทปกาว ถ้าใช้ปากกัด จะดูไม่งามเล็กน้อย

เริ่มตัดขวดพลาสติก แนะนำว่าตรงสัน จะมีความแข็งเหมาะกับการใช้มากกว่า


ตัดให้ได้ขนาดใกล้เคียงกับความสูงของใบหูลูกหมา
โดยให้เล็มตรงปลายให้โค้งมน จะได้ไม่ทิ่มหู


เทปกาวที่ใช้ในปฏิบัติการครั้งนี้


นำแผ่นพลาสติกมาแปะตรงกลาง แล้วตัดกระดาษกาวให้เข้ากับรูปทรงใบหู


เมื่อแปะเสร็จแล้วจะเป็นแบบนี้ หูด้านซ้ายมือของเรา



จะเห็นว่า เทปกาวยื่นออกมามากไปหน่อย แต่ด้านขวาพอดีกับใบหู

วิธีเลี้ยงลูกหมาแรกคลอดให้ปลอดภัย

เครดิตบทความจาก http://www.แบบหมาหมา.com โดย ชลิตาสัตวแพทย์


สวัสดีค่ะวันนี้เรามาพูดถึงลูกหมาตัวเล็กๆน่ารักๆกันดีกว่าค่ะ แต่เป็นลูกหมาแรกคลอดนะค่ะ ลูกหมาแรกคลอดนั้นหากมีแม่หมาคอยเลี้ยงดูอยู่ ก็ไม่มีปัญหาเท่าใด เพียงแค่ปล่อยให้แม่หมาคอยดูแลตามธรรมชาติ โดยเราเพียงแต่เสริมอาหารคุณภาพสูง และวิตามินบำรุงร่างกายก็เพียงพอแล้ว

แต่ในทางกลับกันหากแม่หมาไม่ยอมดูแลเลี้ยงดูลูกหมา เพราะเลี้ยงไม่เป็น หรือมีปัญหาโรคจิตประสาทที่จะทำร้ายลูก หรือกลัวลูกไม่ยอมให้นมลูก หรือที่แย่ที่สุดคือแม่ตาย หรือที่เราเรียกลูก “กำพร้า” นั้นเอง

ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมาแรกคลอดนั้นมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

- สารอาหารและการหย่านม

- การจัดการเรื่องการขับถ่าย

- อุณหภูมิและความชื้น

- การป้องกันโรคติดต่อ

- การเข้าสังคม

แต่วันนี้จะขอเน้นถึงเรื่องที่สำคัญที่สุดคือการเลี้ยงดูลูกหมาแรกคลอดให้ปลอดภัย นั้นคือ การป้อนนมลูกหมาแรกคลอดให้ปลอดภัย ซึ่งมีด้วยกัน 10 ขั้นตอนนั้นนี้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 ใช้ขวดนมสำหรับลูกหมา “เริ่มดีมีชัยไปกว่าครึ่ง”

นั้นหมายถึง เริ่มต้นเลี้ยงลูกหมาแรกคลอดให้ดี ก็หมายถึงโอกาสรอดของลูกหมาก็มีมากกว่า 50 เปอเซนต์ ซึ่งการเริ่มต้นที่ดีในการป้อนนมก็ต้องเริ่มจากกการเลือกขวดนมที่เหมาะสม นั้นคือ เราควรเลือกใช้ขวดนมสำหรับลูกหมา ซึ่งจุกนมจะเล็กไม่ใหญ่เกินไปเหมือนจุกนมเด็กทารก

ขั้นตอนที่ 2 ใช้นมคุณภาพสูง

เราควรเลือกนมสำหรับลูกหมามาใช้ป้อนให้ลูกหมาโดยเฉพาะ ไม่ควรให้นมผงเด็ก หรือนมกล่อง หรือนมข้นหวาน มาใช้ชงเลี้ยงลูกหมา เพราะนมโค หรือนมเด็ก นั้นไม่เหมาะสำหรับเลี้ยงลูกหมา เพราะมักจะทำให้ลูกหมาท้องเสียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ ช่วง 72 ชั่วโมงแรก จำเป็นต้องใช้นมลูกหมาคุณภาพสูง ซึ่งดูเหมือนจะราคาแพงหน่อย แต่คุณภาพก็ดีตามราคาค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 ชั่ง-ตวง-วัด ปริมาณน้ำนมที่ใช้ในแต่ละวัน



ในการให้นมลูกหมานั้นเราจำเป็นต้องกำหนดปริมาณน้ำนมสำหรับลูกสัตว์ในแต่ละวัน เพื่อจะได้ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยมีสูตรดังนี้

อายุลูกหมา ปริมาณนมที่ให้กินในแต่ละวัน

1 อาทิตย์ 13 ซีซี

2 อาทิตย์ 17 ซีซี

3 อาทิตย์ 20 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม

4 อาทิตย์ 22 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม

การตวงนมนั้นอาจใช้ไซริงค์ หรือกระบอกฉีดยาดูดเอาก็ได้ ส่วนน้ำหนักตัวของลูกหมานั้น ก็ใช้ตาชั่งเล็กๆ ที่ใช้ชั่งอาหารทำครัว ซึ่งราคาประมาณ 300-400 บาทหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตได้ค่ะ


ขั้นตอนที่4 ป้อนนมวันละกี่มื้อดี

การที่จะป้อนนมวันละกี่มื้อดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอายุของลูกหมาเป็นสำคัญ อายุน้อยก็ต้องป้อนมากมื้อมากว่าอายุมาก โดยแบ่งได้ดังนี้

อายุลูกหมา ปริมาณนมที่ให้กินในแต่ละวัน

48-72 ชั่วโมง ทุกๆ 2 ชั่วโมง

3-7 วัน ทุกๆ 3 ชั่วโมง

2 อาทิตย์ ทุกๆ 4 ชั่วโมง

3 อาทิตย์ ขึ้นไป วันละ 4-5 ครั้ง

ทั้งนี้ให้นำปริมาณน้ำนมที่คำนวณได้จาก ขั้นตอนที่ 3 มาหารด้วยจำนวณมื้อในแต่ละวัน ได้เท่าไรจึงค่อยนำไปป้อนลูกหมาในแต่ละมื้อ

ขั้นตอนที่ 5 อย่าลืมอิ่มอุ่น

ก่อนป้อนนมทุกครั้งจะต้องอุ่นนมเสียก่อน ไม่ใช่ป้อนนมเย็นๆ ให้ลูกหมา เดี๋ยวลูกหมาจะปวดท้องได้

ขั้นตอนที่ 6 เจาะรูหัวนมไม่ให้ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป

เราจะต้องเจาะรูจุกนมไม่ให้เล็กหรือใหญ่จนเกินไป เพราะถ้าเล็กไปน้ำนมก็ไหลช้า ลูกหมาจะต้องออกแรงดูดมาก กว่าจะกินหมดขวด แต่ถ้ารูใหญ่เกินไปก็จะทำให้นมไหลออกมามากเกินไป ลูกหมาอาจสำลักนมได้

เทคนิคในการเจาะรูขวดนมคือ ให้เจาะจากด้านในจุกนมออกมาข้างนอก เพราะน้ำนมจะไหลดีกว่า และที่สำคัญก็คือ ก่อนป้อนนมนั้นควรคว่ำขวดนมให้น้ำนมบางส่วนไหลซึมออกมาเล็กน้อยก่อนป้อนขวดนม

ขั้นตอนที่ 7 ป้อนนมท่านอนคว่ำ

ควรหลีกเลี่ยงการป้อนนมลูกหมาในท่านอนหงาย แต่ควรป้อนลูกหมานอนคว่ำโดยหาเบาะหนุนให้ด้านหน้าสูงกว่าด้านหลัง แล้วค่อยให้กินนมจากขวดนม ซึ่งท่ากินนมเช่นนี้ของลูกหมาจะใกล้เคียงกับเวลากินนมจากเต้านมแม่หมา

ขั้นตอนที่ 8 ระวังท้องอืด

หลังป้อนนมแล้ว เราจะต้องหมั่นตรวจช่องท้องไม่ให้ขยายใหญ่เกินขนาด หรือเรียกว่าท้องอืดเกินไปหลังกินนม เพราะหากท้องอืดเกินไปเนื่องจากมีแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารมากมายเกินไป ก็ทำให้ลูกหมาปวดท้องได้ ฉนั้นบางทีเราควรปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อจัดยา แก้ท้องอืดมาเตรียมไว้รับมือกรณีท้องอืด

ขั้นตอนที่ 9 ชั่งน้ำหนักตัวลูกหมาทุกวัน

เราควรชั่งน้ำหนักตัวลูกหมาทุกๆวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อคอยเฝ้าระวังน้ำหนักตัว โดยปกติแล้วลูกหมาจะต้องมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ทีละน้อยๆทุกวัน ซึ่งหากวันไหนน้ำหนักตัวเพื่มขึ้นหรือลดลง ก็แสดงว่าต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นนั้นเอง

ขั้นตอนที่ 10 หย่านมก่อนได้เปรียบ

ปกติแล้ว ลูกหมาจะหย่านมเมื่ออายุ 6 อาทิตย์ ดังนั้น เมื่ออายุย่างเข้า 6 อาทิตย์ เราก็เริ่มเตรียมอย่านมลูกหมาได้แล้วโดยการเริ่มให้กินอาหารหมา เช่น พวกอาหารเปียกต่างๆ ซึ่งหลังจาก ลูกหมากินอาหารสำเร็จรูป ได้แล้วเราก็หย่านมหรือหยุดให้นมได้ค่ะ

ทำอย่างไรดีเมื่อน้องหมาจะคลอดลูก

เครดิตบทความจาก http://dogclub.in.th


เมื่อน้องหมาของเราใกล้กำหนดคลอดเข้ามา เจ้าของหลายท่านอาจจะไม่รู้ว่าควรเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์อย่างไรบ้าง วันนี้เราเลยนำข้อมูลเรื่องการเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์เมื่อเจ้าของต้องกลายเป็น”หมอตำแย”ทำคลอดน้องหมามาฝากคุณผู้อ่านกันค่ะ


การเตรียมตัวก่อนคลอดในช่วงการท้องสัปดาห์สุดท้าย

เจ้าของควรเตรียมพื้นที่ให้น้องหมาคลอด เช่น อาจหาลังหรือตะกร้าสะอาดที่กว้างพอให้น้องหมาใช้เป็นพื้นที่คลอดได้ และปูรองด้วยกระดาษ แผ่นรองซับหรือผ้าสะอาด จุดที่วางลังคลอดนี้ ควรเป็นส่วนที่อากาศถ่ายเทได้ดี มีความสงบไม่ใช่จุดที่มีคนเดินพลุกพล่านมากนัก เพราะน้องหมาบางตัวจะเครียดและไม่ยอมใช้พื้นที่ตรงนั้นในการคลอด ควรเตรียมไฟกกไว้ที่มุมหนึ่งของลังด้วย เพื่อเป็นแหล่งที่จะให้ความอบอุ่นกับลูกสุนัข โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเย็น

ควรตัดขนบริเวณเต้านมและอวัยวะเพศของน้องหมาให้สั้น เพื่อลดการสะสมของคราบสกปรกในช่วงคลอดและทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดตัวน้องหมา และควรวัดอุณหภูมิร่างกายน้องหมาทุกวัน เพราะอุณหภูมิร่างกายของแม่สุนัขจะเปลี่ยนไปเมื่อเข้าสู่ช่วงใกล้คลอดใน 24 ชั่วโมงค่ะ


การเตรียมตัวในช่วงก่อนคลอด 24 ชั่วโมง

เตรียมพื้นที่คลอดให้พร้อม เช่น วัสดุปูรองลังหรือตะกร้าสำหรับให้น้องหมาคลอดลูกต้องสะอาดและแห้ง เลือกพื้นที่ในการวางลังคลอดให้ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ควรเตรียมอุปกรณ์ช่วยทำคลอดให้พร้อม ได้แก่

ผ้าขนหนูแห้งไว้เช็ดตัวลูกสุนัข
ไหมสำหรับผูกสายสะดือ
สำลี
กรรไกรสะอาด
ถุงมือ
เบตาดีนหรือเจนเชี่ยนไวโอเล็ต สำหรับแต้มแผล
นมและขวดนมสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ (เผื่อในกรณีที่แม่ไม่มีน้ำนมหรือไม่สามารถให้นมลูกได้) ไม่ควรใช้นมวัวทั่วไปที่ให้คนกินมาป้อนลูกสุนัข เพราะลูกสุนัขอาจท้องเสียได้ค่ะ
ไฟสำหรับกกลูกสุนัข ถ้าไม่มีอาจเตรียมกระเป๋าน้ำร้อนหรือแผ่นทำความร้อน (Heating pad) แทนก็ได้
ให้สังเกตอาการสุนัขว่ามีอาการหรือพฤติกรรมว่าจะคลอดหรือไม่ เช่น กระวนกระวาย พยายามคุ้ยหรือขุดพื้น ไม่ทานอาหาร อาจมีน้ำใสๆหรือสีน้ำตาลไหลจากอวัยวะเพศได้ค่ะ

อุณหภูมิของแม่สุนัข (วัดทางทวารหนัก) ในช่วงท้องระยะท้ายจะอยู่ที่ประมาณ 100 องศาฟาเรนไฮต์ จนกระทั่งก่อนคลอด 24 ชั่วโมง อุณหภูมิแม่สุนัขจะลดลงเหลือ 98-99 องศาฟาเรนไฮต์ ดังนั้นการวัดอุณหภูมิแม่สุนัขจึงใช้เป็นตัวบอกคร่าวๆได้ว่าน้องหมาใกล้จะคลอดภายใน 24 ชั่วโมงหรือไม่ได้ด้วยค่ะ



สิ่งที่ควรทำเมื่อน้องหมากำลังจะคลอดลูก

ในกรณีที่น้องหมาคลอดลูกได้เองและดูแลลูกสุนัขได้ดี เจ้าของอาจไม่จำเป็นต้องช่วยคลอดเลยก็ได้ค่ะ แต่ถ้าน้องหมาคลอดลูกออกมาแล้วแต่ไม่ยอมแกะถุงหุ้มลูกสุนัข เจ้าของอาจจำเป็นต้องช่วยทำคลอด โดยการฉีกถุงหุ้มตัวลูกสุนัขออก เช็ดตัวลูกสุนัขด้วยผ้าขนหนูสะอาดเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกสุนัขหายใจ ทำไปจนกว่าจะสังเกตเห็นว่าลูกสุนัขหายใจเป็นจังหวะสม่ำเสมอ สีเหงือกและฝ่าเท้าเป็นสีชมพูสด และตัวแห้งดี หลังจากนั้นเอาไหมที่เตรียมไว้มาผูกสายสะดือเหนือสะดือประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง แล้วตัดสายสะดือออก และแต้มปลายสายสะดือที่เหลือด้วยเบตาดีนหรือเจนเชี่ยนไวโอเล็ต แล้วนำลูกสุนัขวางในลังหรือตะกร้าคลอดที่ได้รับความอบอุ่นจากไฟ

ถ้าแม่สุนัขมีสุขภาพแข็งแรงดี พยายามให้ลูกสุนัขได้รับน้ำนมจากแม่ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เพราะน้ำนมในช่วงนี้จะเป็นนมที่มีภูมิคุ้มกันจากแม่ออกมาด้วย ซึ่งจะช่วยให้ลูกสุนัขแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่อต้านโรคต่างๆในช่วงแรกๆของชีวิตลูกสุนัข ถ้าแม่สุนัขไม่มีน้ำนมหรือไม่ยอมให้ลูกทานนม เจ้าของควรหานมสำหรับลูกสุนัขที่เราเตรียมไว้มาป้อนให้แทน เพราะถ้าลูกสุนัขไม่ได้ทานนม ก็จะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และร่างกายอ่อนแอจนอาจเสียชีวิตได้ค่ะ เจ้าของควรสังเกตและจดบันทึก จำนวน น้ำหนักตัวและลักษณะต่างๆของลูกสุนัข สังเกตด้วยว่าลูกสุนัขมีความผิดปกติอะไรตั้งแต่แรกคลอดหรือไม่ เช่น ไส้เลื่อนสะดือ เพดานปากโหว่ เป็นต้น

ควรสังเกตอาการแม่สุนัขว่ามีอาการผิดปกติใดๆหรือไม่หลังคลอด เช่น มีเลือดหรือน้ำไหลจากอวัยวะเพศหลังคลอดนานผิดปกติ น้องหมามีอาการอ่อนเพลียหรือซึมมากหลังคลอด เป็นต้น ถ้ามีอาการผิดปกติอาจจำเป็นต้องพาแม่สุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกาย
ถ้าน้องหมาที่จะคลอดมีอาการดังต่อไปนี้ ควรพาไปพบสัตวแพทย์ เพราะอาจจะต้องฉีดยาเพื่อช่วยกระตุ้นการคลอดหรืออาจต้องผ่าคลอด

น้องหมายังไม่คลอด เมื่ออายุท้องเลย 65 วันไปแล้ว (ถ้ามั่นใจว่านับวันตั้งท้องถูกนะคะ)
อุณหภูมิแม่สุนัขลดต่ำกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์ มาเกิน 24 ชั่วโมง แล้วยังไม่คลอด
มีน้ำสีเขียวเข้มไหลออกมาจากอวัยวะเพศแต่ไม่มีลูกสุนัขออกมา
น้องหมามีอาการกระวนกระวายทำท่าเหมือนจะคลอดเกิน 6-8 ชั่วโมงแล้ว แต่ยังมีการเบ่งคลอด
น้องหมาพยายามเบ่งคลอดมานานเกิน 20 นาทีแล้ว แต่ยังไม่มีลูกสุนัขออกมา หรือเกิน 1 ชั่วโมงแล้วแต่มีแค่ลูกสุนัขยื่นออกมาเล็กน้อยจากอวัยวะเพศ (พูดง่ายๆก็คือ มีลูกคาที่อวัยวะเพศของแม่ แต่ไม่ยอมหลุดออกมาซักที)
ระยะห่างของการคลอดลูกแต่ละตัวเกิน 1-2 ชั่วโมง โดยที่น้องหมาไม่แสดงอาการเบ่งลูกตัวที่เหลือเลย
ในกรณีที่เจ้าของบางท่านพลาดเอาน้องหมาไปฉีดยาคุม ที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในช่วงต้นของการท้อง สิ่งที่ตามมาคือ ลูกสุนัขจะยังไม่ตายทันที จะอยู่รอดในครรภ์มาจนถึงวันคลอด แต่แม่สุนัขจะไม่เกิดกระบวนการคลอดตามปกติ ผลที่ตามมาคือ ลูกสุนัขจะตายในท้อง เกิดการเน่าและทำให้มดลูกติดเชื้อตามมา ในกรณีนี้ต้องผ่าตัดทำคลอดเท่านั้นค่ะ

การดูแลน้องหมาตั้งท้อง

เครดิตบทความจาก http://dogclub.in.th


การดูแลน้องหมาตั้งท้อง

เมื่อน้องหมาผสมพันธุ์กันไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่มักตามมาก็คือ น้องหมาเพศเมียตั้งท้อง เจ้าของน้องหมาหลายท่านเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์ในการดูแลน้องหมาตั้งท้อง อาจจะไม่มั่นใจว่าจะต้องดูแลว่าที่คุณแม่หมากันอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลดีๆมาฝากกันค่ะ

ระยะเวลาในการตั้งท้อง

น้องหมาใช้เวลาในการตั้งท้องนานประมาณ 57-72 วัน (โดยมากอยู่ที่ 60-65 วันหรือประมาณ 2 เดือน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนับด้วยว่านับวันใดเป็นวันแรก เช่น บางคนอาจนับวันที่น้องหมาผสมพันธุ์กันครั้งแรกเป็นวันที่ 1 ของการตั้งท้อง ซึ่งอาจไม่ใช่วันที่มีการตกไข่และเกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่กับตัวอสุจิก็ได้ ทำให้นับแล้วสุนัขมีอายุท้องที่นานกว่าคนอื่นนับก็ได้ แต่บางคนอาจนับจากวันที่เกิดการตกไข่ไปจึงทำให้จำนวนวันน้อยกว่าก็ได้ เช่น ในกรณีที่เราไปผสมกับสุนัขจากฟาร์มน้องหมา โดยมากมักจะจัดให้มีการขึ้นผสม 2-3 รอบ แต่ครั้งที่น้องหมาผสมติดจริงอาจเป็นครั้งที่ 2 หรือครั้งที่ 3 ที่ผสมก็ได้ ทำให้นับวันได้ตั้งท้องนานกว่าความเป็นจริงได้ค่ะ


จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องหมาตั้งท้อง

เมื่อมีการผสมพันธุ์ไปแล้ว เจ้าของหลายท่านคงอยากทราบว่าจะมีวิธีใดบ้างที่จะบอกได้ว่าน้องหมาของเราท้องหรือไม่ ซึ่งวิธีการตรวจครรภ์สุนัขก็มีหลายวิธีดังนี้

การใช้มือคลำตรวจท้อง สามารถเริ่มคลำพบลูกสุนัขเมื่ออายุท้องประมาณ 28-35 วันขึ้นไป เป็นวิธีที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้เครื่องมือ แต่ผู้คลำต้องมีประสบการณ์ในการคลำท้องพอควร จึงอาจทำให้วิธีนี้ไม่ค่อยแม่นยำนักในการบอกว่าท้องหรือไม่ และอาจบอกจำนวนลูกไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ลูกในครอกนั้นมีหลายตัวมาก
การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ โดยสามารถเอกซเรย์เห็นโครงสร้างกระดูกของลูกได้ตั้งแต่อายุท้อง 44-45 วันขึ้นไป ข้อดีคือ สามารถบอกจำนวนลูกในท้องได้ค่อนข้างแม่นยำกว่าวิธีอื่น แต่ก็ไม่ 100% นะคะ เพราะบางครั้งเมื่อจับแม่สุนัขในท่าเพื่อเอกซเรย์ ตัวลูกอาจมาอยู่ซ้อนกันทำให้มองเห็นลูกน้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้นเวลาแปลผลจากฟิล์มเอกซเรย์ คุณหมอจึงมักจะบอกว่าน่าจะท้องอย่างน้อยกี่ตัวมากกว่าจะฟันธงจำนวนลูกไปเลย และข้อดีอีกเรื่องหนึ่ง คือ ถ้าเอกซเรย์ในช่วงที่ลูกในท้องพัฒนาเต็มที่แล้ว (โดยมากคือ อายุท้อง 56-58 วันขึ้นไป) ก็จะสามารถเปรียบเทียบขนาดของลูกเมื่อเทียบกับเชิงกรานแม่ว่าลูกตัวใหญ่หรือไม่ ทำให้ช่วยทำนายได้ว่ามีโอกาสคลอดยากหรือไม่ แต่มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถบอกได้ว่าลูกสุนัขมีชีวิตหรือไม่ และเมื่อเทียบกับวีธีอื่นแล้วต้องรอนานกว่าจึงจะสามารถใช้วิธีนี้ในการตรวจการตั้งท้องได้ค่ะ
การอัลตราซาวนด์ สามารถตรวจการตั้งท้องได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 วัน ขึ้นไป ซึ่งวิธีนี้มีข้อดี คือ บอกได้ว่าน้องหมาท้องหรือไม่ได้แม่นยำกว่าการคลำและรวดเร็วกว่าการเอกซเรย์ ถ้าอัลตร้าซาวนด์ในช่วงท้ายของการตั้งท้องก็สามารถบอกขนาดตัวลูกได้ (แต่การอัลตร้าซาวนด์อย่างเดียวไม่สามารถบอกได้ว่าขนาดลูกเมื่อเทียบกับเชิงกรานแม่ จะใหญ่จนคลอดยากหรือไม่นะคะ เพราะการอัลตร้าซาวนด์ไม่สามารถบอกขนาดเชิงกรานแม่ได้ค่ะ) และยังสามารถบอกได้ด้วยว่าลูกสุนัขในท้องมีชีวิตอยู่หรือไม่ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสูงกว่าวิธีอื่น และใช้ในการนับจำนวนลูกได้ไม่แม่นนัก (ส่วนใหญ่คุณหมอที่นับจำนวนลูกได้ค่อนข้างแม่นยำจากการอัลตร้าซาวนด์ มักจะต้องเป็นคุณหมอที่มีประสบการณ์ในการอัลตร้าซาวนด์น้องหมาตั้งท้องค่อนข้างสูงค่ะ)
ส่วนตัวของผู้เขียนนั้น ถ้าเจ้าของน้องหมาซีเรียสกับเรื่องการตั้งท้องมาก อาจจะให้พาน้องหมาไปอัลตร้าซาวนด์ดูว่าท้องจริงหรือไม่ และลูกยังมีชีวิตอยู่ดีหรือไม่ และเมื่อท้องในช่วงวันท้ายๆ จะให้มาเอกซเรย์เพื่อนับจำนวนลูกและดูขนาดลูกเมื่อเทียบกับเชิงกรานของแม่สุนัขค่ะ การทราบจำนวนลูกจะมีประโยชน์ในแง่ที่ว่า เมื่อถึงวันคลอดจริง เราจะได้รู้ว่าน้องหมาคลอดลูกได้ครบเองหรือไม่ เพราะน้องหมาบางตัวอาจหมดแรงในการเบ่งลูกตัวหลังๆ ไม่สามารถคลอดเองได้ เจ้าของก็จะได้พาไปให้สัตวแพทย์ช่วยคลอดหรือผ่าตัดทำคลอดต่อได้ค่ะ



อาหาร ในช่วงที่ผสมและช่วงแรกของการตั้งท้อง (อายุท้องประมาณ 28-30 วันแรก) ยังสามารถให้อาหารสูตรปกติสำหรับน้องหมาโตเต็มที่ทานได้ แต่ควรเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี แต่ช่วงท้ายของการตั้งท้อง โดยเฉพาะ 3 อาทิตย์สุดท้ายก่อนการคลอด ลูกสุนัขในครรภ์จะเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้แม่สุนัขต้องการพลังงานและสารอาหารมากกว่าปกติ ดังนั้นระยะนี้จึงควรปรับสูตรอาหารมาให้อาหารสูตรสำหรับลูกสุนัขกับตัวแม่สุนัขแทนค่ะ และให้ไปจนกระทั่งคลอดและลูกสุนัขหย่านม ถ้าแม่สุนัขได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจทำให้ลูกสุนัขไม่แข็งแรงและอัตรการรอดต่ำ แต่ก็ไม่ควรให้แม่สุนัขอ้วนจนเกินไปนัก เพราะแม่สุนัขที่อ้วนเกินไปมักจะมีปัญหาคลอดยากกว่าสุนัขที่มีรูปร่างปกติค่ะ
การฉีดวัคซีนและโปรแกรมการป้องกันโรคต่างๆ ถ้าแม่สุนัขยังไม่ได้ฉีดวัคซีนประจำปี ควรฉีดวัคซีนให้ครบตั้งแต่ก่อนการผสมพันธุ์ หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนในช่วงที่ตั้งท้อง ควรป้อนยาถ่ายพยาธิให้แม่สุนัขก่อนการตั้งท้องด้วย เพื่อลดโอกาสการติดพยาธิในลูกสุนัข เนื่องจากพยาธิหลายชนิดสามารถติดจากแม่ไปสู่ลูก ผ่านทางรกและทางน้ำนมได้ ส่วนโปรแกรมการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ ในกรณีที่ใช้แบบยากิน (เฉพาะยี่ห้อที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนะคะ) สามารถใช้ในสุนัขตั้งท้องได้ตามปกติ ส่วนกรณียาหยดหลัง ถ้าเป็นยี่ห้อ Revolution® มีการทดลองว่าปลอดภัยกับสุนัขตั้งท้อง ส่วนยี่ห้อ Advocate® นั้นทางผู้ผลิตระบุว่าให้สัตวแพทย์เป็นผู้พิจารณาก่อนใช้อีกที ส่วนกรณีที่ใช้เป็นยาฉีดนั้น ในหนังสือคู่มือยาระบุว่าเป็นกลุ่มยาที่ค่อนข้างปลอดภัยกับสัตว์ตั้งท้อง แต่อย่างไรก็ดี ควรปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนฉีดยาอีกทีจะดีกว่าค่ะ
ยาและอาหารเสริม หลีกเลี่ยงการใช้ยาใดๆให้กับสุนัขที่กำลังตั้งครรภ์ ยกเว้นว่าถ้าไม่ได้รับยาแล้วแม่สุนัขอาจเสียชีวิตได้ เพราะยาหลายๆกลุ่มอาจมีผลต่อการพัฒนาของลูกสุนัขในครรภ์ได้ การให้อาหารเสริมอื่นๆกับแม่สุนัขนั้น เช่น แคลเซี่ยม จริงๆแล้วถ้าสุนัขได้รับอาหารที่มีคุณภาพดีและปริมาณเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องเสริม ถ้าเจ้าของมีความต้องการอยากให้อาหารเสริมใดๆกับสุนัขที่ตั้งท้อง แนะนำว่าควรปรึกษากับสัตวแพทย์ดูถึงความจำเป็นในการให้อาหารเสริมชนิดนั้นๆนะคะ
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดปรสิตภายนอก (เห็บ/หมัด) ถ้าไม่จำเป็นควรงดใช้ไปก่อน แต่ถ้าแม่สุนัขมีเห็บ/หมัดเยอะ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ถึงผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ค่ะ

มาตราการป้องกัน เงินเราแท้ซื้อน้องหมาสายพันธ์แท้

เครดิตบทความจาก chihuahuacafe.com โดยคุณ phairat

มาตราการป้องกัน คนขายหมาเอาเปรียบคนซื้อ หลอกขายลูกหมาพันธุ์ผสมสายพันธ์อื่น เป็นชิวาวา เรายอมพวกฟาร์มเอาเปรียบเราเหรอ ผมคนรุ่นเก่า ยังไม่รู้ว่าชิวาวา หน้าหมี มาจากไหน รู้แต่ว่าชิวาวา สมัยก่อน มี3แบบ 1.ขนสั้น 2.ขนยาว 3.กึ่งขนยาว (ขนหยาบ)
1.หมาชิวาวา ขนสั้น (แบบเกรียน) สมัยใหม่มีขนสองชั้น น้องหมาเพศเมีย ที่ไม่มีเชื้อ ขนยาวเมื่อเรานำไปผสม พ่อขนยาว ที่เราต้องการผสมเพื่อได้ หมาขนยาว หากไม่เกิดหมาขนยาวก็จะได้ลูกหมาขนสั้นชั้นเป็นหลัก ลูกหมาขนสองชั้นเหล่านี้ เส้นขนเหมือนสุนัขพันธ์ไทย ขนกำมะหยี่ 2ชั้น
ขนกำมะหยี่ของสุนัขไทยก็เป็นการพัฒนาพันธุ์ของสุนัขไทยหลังอาน ของบรีดเดอร์ที่มีจุดมุ่งหมายในการบรีดให้ออกมาเป็นขนกำมะหยี่ 1 ชั้น หรือ 2 ชั้น และอาจจะเป็นช่วงสมัยนิยมเป็นยุคๆ ไปนะครับ อย่างเช่นเมื่อประมาณเกือบยี่สิบที่ผ่านมา รู้สึกว่าจะมีช่วงหนึ่งที่ บรีดเดอร์นิยมบรีดให้เป็นขนกำมะหยี่กันมาก ขนสั้นเกรียนธรรมดา
เส้นขนสุนัขพันธ์ชิวาวา จะมีเพียงขนสองชั้นเท่านั้น จุดสังเกตุ ขนกำมะหยี่ หรือขนสองชั้น เส้นขนละเอียดและดูหนาแน่นมากกว่า ชนิดขนสั้นธรรมดา หางเป็นพวงกว่า ขนสั้น ธรรมดา ชิวาวาขนสั้น (เกรียน) หางจะไม่ค่อยมีขนเหมือนหางหนู เหมือนเราเอา ชิวาวาสองตัวมาผสมกัน ขนสองชั้นสั้นกว่า ชนิดขนยาว แต่ ขนมากกว่าชิวาวาขนสั้นทั่วไป
2.ชิวาวาพันธ์ขนยาว ที่เป็นสายพันธ์แท้ ขนจะมีมากบริเวณ แผงคอ อก ชายขาทั้ง4ข้าง หางเป็นพวง และเปียหู ชิวาวาขนยาว ขนจะหนาแน่นขึ้นอยู่สภาพอากาศที่เลี้ยง บ้างบ้านเลี้ยงน้องในห้องแอร์ ที่มี อนุภูมิที่หนาวเย็น น้องก็จะขนยาวกว่า น้องที่ อยู่ห้องพัดลม สุนัขพันธ์ปักกิ่งที่เป็นสายอเมริกาและสายออสเตรีย ที่มาจากต่างประเทศ ต้องเลี้ยงอนุภูมิ ที่หนาวเย็นไม่น้อยกว่า20C เพื่อให้สุนัขเหล่านี้ มีอากาศที่ใกล้เคียงกับ ประเทศที่เค้ามาครับ ขนก็ยังหนาแน่นเหมือนเดิม สมัยก่อนที่เรีนนกรูม (เรียนตัดขน) ที่รร นำพ่อแม่สุนัขพันธ์ปักกิ่งมาให้นักเรียนๆ เจ้าของพ่อแม่พันธ์เหล่านั้นต้อง มีผ้า มีเขาแช่แข็งไว้ เพื่อนำมาให้น้องหมาเหล่านั้นนอนพับเพื่อป้องกันน้องหมาช็อก นี่เป็นปัยจัยหนึงที่น้องหมาชิวาวา บางบ้านขนไม่หนาแน่น แต่ไม่ใช่ หมาที่เป็นลูกผสม ที่มีเชื้อสายพันธ์อื่นที่มีเส้นขนหนาแน่นอยู่แล้ว เช่นสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง สุนัขพันธุ์ปอมเมอเรเนียน ที่เป็นพันธุกรรมขน


สุนัขพันธุ์ปอม จะมีขนที่หัว เช่นหน้าผาก ขนมีทั้งตัว ขนชี้ฟู(ขนตั้ง)แต่ ชิวาวา เป็นเส้นขนที่แนบลำตัวไม่ชี้ฟู เมื่อตอนลูกหมาเราจะดูแทบไม่ออกเลยว่าน้องตัวไหนเมื่อโตขึ้นจะมีขนแบบไหน แต่เมื่อล฿กหมาเหล่านั้นเริ่มมีอายุที่2/3เดือน เริ่มจะดูออกว่า เส้นขน น้องตัวไหนเป็นขนแบบ ชิวาวา หรือ ปอม
ขนที่บริเวณหน้าผากน้องสุนัขพันธ์ปอม ที่มีความแตกต่งกับ ชิวาวา หรือ ปักกิ่ง


สุนัขพันธ์ชิวาวา ที่หน้าผากขนจะไม่ชี้ฟูแต่จะแนบเรียบ ที่หัว ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างกันมาก ถ้าลองได้ศึกษา จริงจังเราจะรู้ได้เลยว่า เส้นขนน้องหมา2สายพันธ์นี้จจะแตกต่งกัน อย่างมาก
เส้นขนตามลำตัวจะแนบ ไม่ชี้ฟู เหมือน ปักกิ่งหรือปอม ส่วนแผงคอ จะเป็นแผงจดไหล่ ด้านหลังของชิวาวา เท่าน้นไม่ลามไปตลอดทั้งตัว หรือ ในบางตัวที่มีเส้นขนหนาแน่นมาก เกินกว่าสุนัขพันธ์ชิวาวา แท้ๆ หากเราเจอน้องหมา ที่พูดมานี้เหลีกเลี่ยงไว้ก่อนครับ หากเราไม่แน่ใจ


คราวนี้มาดูว่า หน้าน้องชิวาวาที่ ถูกต้องๆดูยังไง
1.ปากรัด กระบอกปากกลมไหม มีร่องใต้ตาไหม หน้าผาก (สตอปแบบไหน) ในสุนัขพันธ์ปอมก็มีสตอปคล้ายชิวาวา แตกต่างกันที่โดม หัวไม่ใช่โดมแอปเปิ้ล เพียงแต่ในปอมที่ปากสั้นๆ หัวจะตัด แต่ไม่90องศา


ลูกชิวาวา หากเราหรือเพื่อนๆไปหาซื้อ หรือเห็นพ่อพันธ์บ้านไหน น่าตาแบบนี้ เหมารวมได้เลยครับ น้องหมาบ้านนั้น เป็นลูกผสม


ส่วนลูกหมาปักกิ่งเมื่อเยาว์วัย จะคล้ายชิวาวา มากสำหรับท่านที่ต้องการน้องหัวใหญ่ ปากสั้นๆแบบนี้ สงสัยโดนครับ



รูปปักกิ่งสายออสเตรียสายพันธ์แท้ ให้สังเกตุมีลิงค์กิ้ง ที่สันจมูก ปากดำ มีลิฟปาก
แต่ปักกิ่งสีขาวสมัยนี้ ไม่มีลิงค์กิ้งและปากไม่สั้นมากเหมือนสายพันธ์แท้ครับบ แต่ครั้งนี้ไม่พุดถึง ปักกิ่งสีขาว มาจากที่ไหนนะครับ เดี๋ยวผมโดน กกตแบน

มาแล้วครับ ปักกิ่งสีขาว ขออนุญาติ นำภาพมาประกอบเพื่อ เป็นแนวทางในการศึกษาครับ


ถ้าจะถามว่าทำไมคนถึงเอาสุนัขพันธ์ปักกิ่งมาผสมกับชิวาวา เพราะอะไร คงต้องกลับไปถามฟารม์ขายหมาเหล่านั้นครับ คอกที่เขาขายหมาลูกผสม ออกมาสาเหตุใหญ่ คืออะไร แค่คิดว่าคนซื้อไม่มีความรู้ แค่นั้นหลอกเอาเงินหรือดูลูกหมาตัวนั้นไม่ออก ว่าดูสายพันธ์ไปทางไหนก็มั่วขายไป
แต่ถ้าจะถามผมว่า การที่เราเอาหมาทั้ง2สายมาผสมเพื่อได้อะไร คำตอบคือ ได้ หมาหัวโตมากปากสั้นไง หน้าตาที่แปลกๆไม่เหมือนใคร ได้ลูกสุนัขสายพันธ์ใหม่ที่สวยกว่าชิวาวาสายเก่า (คนขายเขาคิด)แต่คุณต้องเพาะพันธ์ หลายเจนเนอเรชั่นเพื่อให้หมาสายใหม่ที่เราสร้างขึ้นมาให้เป็นพันธุกรรมใหม่ แต่ต้องเป็นเลือดแท้แล้วถึงนำมาขายได้ ซึ่งเป็นการยากมาก เพราะคนที่ทำแบบนั้นเขาไม่มีความรู้ แล้วก็ไม่มีเจตนาที่จะผสมย้ำไปเรื่อยๆเพื่อให้ได้ถึงเจนเนอเรชั่นที่ลึกๆ ถ้าโชคดีก็5/6เจนเนอเรชั่นออกมาแท้ก็ขายไป แต่ถ้าทำแล้วมานออกมาไม่ดี จะเอาพวกเค้าไปทำไร แต่คนส่วนมาก เพาะแค่2/3เจนเนอชั่นเอาเอามาขายเป็นชิวาวา สายพันธ์แท้แล้ว แต่ผลที่ออกมากระบอกปากยังคงเป็นปักกิ่งขาหน้าก็ปักกิ่งและเส้นขนเส้นใหญ่หยาบและหนาแน่น เป็นปักกิ่ง หรือ ขนปอมอยู่เหมือนเดิม ไม่เห็นเลยว่าจุดไหนที่ลงตัวแล้วว่า สายพันธ์ใหม่ที่พัฒนามาเป็นชิวาวาแท้แล้ว ทางพันธุกรรม แม่หมาคลอดลูกกี่คอกกี่เจนเนอเรชั่นก็ต้องเป็นชิวาวาครับ
ไม่ใช่แบบอย่างที่เห็นๆในกระทู้ น้องหมา5เดือนหูไม่ตั้ง หน้าน้อง หัวกระโหลก น้อง โครงขาหน้า หน้าอก ขนทุกอย่างเป็นปักกิ่ง แล้วดูยังไงว่า ตัวนั้นเป็นชิวาวาดูตรงไหนครับว่า น้องเป็นชิวาวาครับ เห็นแล้วเหนื่อยแทน น้องหมาตัวนั้นเท่ากับแค่มีเชื้อ 50/50% เท่านั้นเอง หรือ เป็นไปได้ที่เจ้าของน้องเขาบอกว่าทางคอกบอกว่าขนสั้นไหง กลายเป็นขนยาว แบบนี้แสดงว่า เขาซื้อหมาโนเนมมาสวมเพด เพื่อจะได้หลอกขายเป็นหมาที่มีนามสกุลครับ

เราๆท่านๆเคยเห็นชิวาวา หน้าตาเหมือน สุนันพันธ์เฟรนซ์บูลด็อก
สีบูลโรน(โรน)ความหมาย ถึงพื้นสีขาวบนขนที่มีรอยดำ หรือบูลอ่อนๆทั้งนำตัว สีนั้นเขาเรียกว่าโรน ครับ โรนมักมีในสุนัขพันธ์ สุนันพันธ์เฟรนซ์บูลด็อก สายเก่า กระโหลกใหญ่ ปากสั้น หูค้างคาว สีมักเป็นจุด แต้ม ที่ตาหรือมาร์คกิ้ง ดำหรือน้ำตาลเข้ม บางตัวติดลายเสือ ลำตัวสีขาวล้วน หรือ ขาวโรน แบบนั้นมันเป็นพันธุกรรมของเฟรนซ์บูลด็อกครับ
ซึ่งในพันธุกรรมของชิวาวาไม่เคยพบเห็น โรนเหล่านั้นอยู่ในสายเลือดชิวาวา 20ปีย้อนหลังไป


ชิวาวาเป็นสุนัขที่ หูเป็นVคว่ำ ไม่ใช่แบบที่เราเจอกันปลายหุ U คว่ำ หรือหูค้างคาวในสุนัขพันธ์เฟรนซ์บูลด็อก ซึ่งพันธุกรรมในเฟรนซ์ หูตั้ง หูค้างคาว สีชาวเป็นพื้น แบบมาร์คกิ้งที่ตา กระโหลกใหญ่ หนา ปากสั้น มีเนื้อที่มุมปาก(ปากหนา) ซึ่งผิดกับชิวาวาเป็นอย่างมาก ชิวาวาปากรัด ไม่มีลีฟปาก เนื้อบริเวณมุมปากไม่หนาและอูม เมื่อมองจากหน้าตรงชิวาวา กระบอกปากกฃม แต่ลูกผสมเฟรนซ์ มองปากดูเป็นปากแบนๆหนาๆ
มองจากรูปน้องหมาชิวาวาที่พบเห็นเรามักจะเจอ ชิวาวาขนยาว ผสมปักกิ่ง ผสมปอม แต่ชิวาวาขนสั้นมักผสม เฟรนซ์ เพราะเฟรนซ์ เป็นสุนัขที่พันธุกรรมหูตั้งเมื่อนำมาผสมชิวาวา น้องหมาที่เกิดมาจะมีโครงสร้างใหญ่ตัวหนา หัวใหญ่ สตอปตัด บรีดเดอร์ที่เพาะลูกผสมเหล่านี้ อาจจะมองว่าสวย ปากสั้น หัวใหญ่ ขายง่าย แค่นั้นเปล่า
ส่วนตัวน้องหมาลูกผสมที่หน้าแปลกๆเหล่านี้หลีกหนีให้ไกลๆเลยครับ ซื้อ น้องชิวาวาสายพันธ์แท้ นำมาเพื่อพัฒนาให้สวยงาม ตามพันธุกรรมของสุนัขสายนั้นๆดีกว่า อย่าผสมข้ามสายพันธ์เลยครับ

ปล. สายพันธ์สุดท้าย ปอมชิ วิธีดู ความต้องการของบรีดเดอร์ที่ผสม สายนี้ เขาต้องการอะไร


ยุดสมัยหนึงเราจะเห็นตามบ้านเรือนเลี้ยงสุนัขพันธ์สปิทซ์ เยอะแยะไปหมดแต่สมัยนี้ หาสุนัขพันธ์นี้ได้ยากเพราะอะไร น้องหมาสายพันธ์นี้ ถูกกลุ่มที่มองเห็นผลประโยชน์ ในตัวน้องหมาสายพันธ์นี้ นำพ่อ แม่เหล่านี้ไปสร้างเป็นปอมสีขาวขาย ที่มีเชื้อสายมาจาก สปิทซ์ จุดที่ต้องการ ได้ลูกค่อคอกจำนวนมาก ย่อส่วนสปิทซืให้เล็กลงกระชับมากขึ้นและเป็นสีขาว ทำให้ปอมในบ้านเรามี หลายสายพันธ์ ปอมเมกาขนตั้งฟูแผงขนหนาอกหนาและเป็นที่นิยมสุด แต่มีราคาแพง และปอมไต้หวัน ที่บางส่วนเป็นลูกสปิทซ์ผสมปอมขนบริเวณหลังจะราบเรียบไม่ชี้ฟูอย่างปอม เมกา ครั้งแรกๆในการผสม ยังไม่เป็นสีขาว ส่วนมากจะพัฒนามาจากสีครีม และสุดท้ายปอมที่มาจากประเทศจีน ปอมที่มีหน้าตาคล้ายชิวาวา เป็นสีแฟนซี มองดูแปลกๆหน้าสั้นๆตัวเล็ก จนหนาแน่น ชิวาวาชัวว์ แต่พอโตมาหน่อย กระบอกปากกลม ปากรัดเริ่มจางหายแต่กับกลายเป็นปากสามเหลี่ยมอย่างปอม มานไม่ใช่ชิ แต่มานกลายเป็นปอมชิ
ชิวาวา เมื่อเรานำไปผสมกับปอมจากมุมปากปอมจะเป็นรูป3เหลี่ยม และปอมสายเก่าปากดำ เมื่อผสมแล้วลูกชิวาวา เหล่านั้นมักปากดำไปด้วย ชิวาวา จะมีแผงคอ เปียหู ลูกปอมชิ แผงคอจะแตกต่างกับชิ แต่เป็นแผงคอ แบบผสม ระหว่างปอมกับชิที่มีขนเยอะหนาแน่นกว่า เปียหูเริ่มไม่มี ขนนที่ลำตัวหนากว่า ชี้ฟูกว่าเมื่อตอนเด็กสวยมาก สั้นกระชับตัวเล็ก ขนหนา เมื่อเทียบกับชิวาวาสายพันธ์ แล้วต่างกันมากมายครับ

แผงขนที่อกปอม ที่แตกต่างกับชิวาวา ขนยาว

แผงคอขนชิวาวา สายขนยาวเป็นแบบนี้ .

ภาพโครงสร้างสุนัขพันธ์ชิวาวาขนสั้น

สุนัขพันธ์ชิวาวาที่ดีควรมีโครสร้างที่ สแคร์ ไม่ใช่ต้องเตี๊ยอย่างเดียว

มาตรฐาน สายพันธุ์ ชิวาวา



ลักษณะทั่วไป สง่างาม กระตือรือร้น เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว รูปร่างกะทัดรัด หน้าตาทะเล้นดูน่ารักสดใส
น้ำหนัก ไม่ควรเกิน 6 ปอนด์ หรือ 2.73 กิโลกรัม

สัดส่วน รูปร่างลักษณะลำตัวจะมีสัดส่วนของความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย (ความยาววัดจากไหล่ไปจรดบั้นท้าย ส่วนความสูงวัดจากพื้นไปถึงจุดสูงสุดของไหล่) อย่างไรก็ตาม นิยมให้สุนัขตัวผู้ลำตัวสั้นกว่าตัวเมีย

1. หัว กะโหลกกลม มีโดมสูงเล็กน้อยคล้ายผลแอปเปิ้ล หน้าตาดูทะเล้น

2. ตา ตากลมโตแต่ไม่ปูดโปน ตา2ข้างอยู่ห่างกันพอดีและมีขนาดสมดุลกัน ดวงตาแวววาว สีตามีสีเข้มหรืออาจเป็นสีออกแดงทับทิมก็เป็นได้ ถ้าสุนัขมีขนสีอ่อนหรือสีขาว ดวงตาอาจมีสีอ่อนได้

3. หู หูใหญ่ ชี้ตั้ง เอียงออกด้านข้าง 45 องศา ทำให้ดูมีพื้นที่ระหว่างหูทั้ง2ข้างกว้างขึ้น ถ้ามีสิ่งเร้าใจหูจะตั้งตรงขึ้น ถ้าหูตกหรือถูกตัดหูจะไม่ได้รับพิจารณาให้เข้าประกวด

4. จมูก สุนัขขนสีอ่อนหรือสีบลอนด์จะมีจมูกสีเดียวกับขน หรือสีดำหรือสีชมพูก็ได้ ส่วนสุนัขที่เทาดำ สีน้ำเงิน หรือสีช็อคโกแล็ต สีจมูกจะเป็นไปตามสีขนเช่นกัน ส่วนจมูกกับปากสั้นพอสมควร ชี้ตรงมาข้างหน้า แก้มและขากรรไกรเอนลาดไปด้านหลัง

5. การกัดงับ ปลายฟันบนสบกับปลายฟันล่างพอดี หรือฟันบนครอบฟันล่างชิดสนิท ไม่เหยินออก ถ้าฟันบนเหยินออกหรือฟันล่างครอบฟันบน ในการประกวดจะถือว่าเป็นข้อบกพร่องร้ายแรง

6. คอ โค้งเล็กน้อยแล้วลาดลงสู่ไหล่อย่างสวยงาม
7. แนวหลัง ตรง

8. ลำตัว ซี่โครงกางออกเป็นรูปกลม(แต่ไม่มากขนาดทำให้สุนัขมีรูปร่างเหมือนถังเบียร์)

9. หาง ยาวพอสมควร หางโค้งเป็นรูปเคียว ชี้ขึ้นหรือจะเอียงออกด้านข้างก็ได้ หรือจะงอมากจนปลายม้วนขึ้นมาแตะหลังก็ได้ หางต้องไม่ตกลงไปจุกก้น ถ้าสุนัขถูกตัดหางหรือมีหางกุดจะไม่รับพิจารณาให้เข้าประกวด

10. ไหล่ ไหล่ลาดเอียงไปสู่แนวหลัง(แต่ต้องไม่ต่ำกว่าแนวหลัง)บริเวณส่วนบนของขาหน้ากว้างและรองรับไหล่ได้ดี ขาหน้าตรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ข้อศอกขาหน้าเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไหล่ต้องแข็งแรงเพื่อสร้างสมดุลของร่างกาย และทำให้สุนัขดูมีพละกำลัง มีช่วงอกกว้างสมบูรณ์(แต่ไม่ถึงกับพวกบูลด็อก)

11. เท้า เท้าเล็กดูกระจุ๋มกระจิ๋ม นิ้วเท้าแยกจากกันชัดเจนแต่ไม่กางออก อุ้งเท้าหนานุ่ม นิ้วเท้าไม่แบนราบ นิ้วเท้าคู่ที่อยู่ด้านในไม่ยาวยื่นกว่าสองนิ้วด้านนอกจนเกินพอดี และเท้าต้องไม่กลมมนหรือมีนิ้วเท้าเบียดชิดกันเกินไป

12.ข้อเท้า สวยงามแข็งแรงดี

13. ลำตัวส่วนท้าย มีกล้ามเนื้อสมบูรณ์แข็งแรง ข้อศอกขาหลังอยู่ห่างกันพอเหมาะ ไม่กางออกหรือหุบเข้า ขาตรง มั่นคง เท้าหลังมีลักษณะเหมือนเท้าหน้า

14. ขน

ชิวาวาขนสั้น : ขนต้องนุ่ม เกรียน และเป็นมันวาว(สุนัขอาจมีขนหนาและมีขนสองชั้นได้) บริเวณคอควรมีขนหนาฟูเล็กน้อย ส่วนบริเวณหูและหัวควรมีขนน้อยกว่าและสั้นเกรียน ขนที่หางควรหนา ยาว และฟูเล็กน้อยเช่นกัน

ชิวาวาขนยาว : ควรมีขนชั้นในขนอาจตรงหรือหยิกเล็กน้อยได้แต่ต้องนุ่ม สุนัขควรมีขนหนา ยาว และฟูเล็กน้อย ที่ขา เท้า สะโพกหลังขาหลัง รวมทั้งที่แผงคอและรอบคอ แต่ต้องมีขนที่ขอบหูด้วยแต่ถ้าขนหนาเกินไปอาจเล็มออกได้บ้าง หูต้องไม่พับลง ส่วนขนที่หางต้องยาว หนา และฟู ถ้าชิวาวาแบบขนยาวมีขนบางเกินไปจะไม่รับพิจรณาให้เข้าประกวด

15. สีขน สีอะไรก็ได้ สีพื้น สีแต้มอย่างชัดเจน หรือสีที่แต้มอย่างกระจัดกระจายก็ได้

การก้าวย่าง ควรเคลื่อนไหวอย่างแคล่วคล่องว่องไวแต่มั่นคงมั่นใจ ขาหน้าเหยียดยื่นออกไปได้ดีพอๆกับขาหลังที่ส่งแรงผลักได้อย่างทรงพลัง เมื่อมองจากทางด้านหลัง ข้อศอกขาหลังทั้งสองข้างขนานกัน เมื่อก้าวเดิน ขาหลังก้าวตามขาหน้า เมื่อวิ่ง ขาทั้งสี่จะเอนเข้ามาแนวกลางลำตัว หัวตั้งตรง แนวหลังยังคงดูแข็งแรง มั่นคง และเป็นแนวตรงเมื่อสุนัขเดินหรือวิ่ง

อารมณ์ ตื่นตัวอย่างเสมอ กระตือรือร้น